วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

อยากใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็น จะต้องทำอย่างไรกันบ้าง เริ่มต้นจากตรงนี้

หลาย ๆ คนที่ได้มีโอกาสใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ทำได้แค่เพียงใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น วันดีคืนดี เจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องเก่งมีอันต้องเกิดปัญหาขึ้นมา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร หากคุณพอจะรู้จักกับอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นบ้าง คงจะช่วยได้มากใช่ไหมครับ

นี่คือจุดเริ่มต้นของผม ที่ได้ทำเว็บเพจนี้ขึ้นมา โดยที่จุดประสงค์หลักคือ อยากให้คนไทยทุก ๆ คนได้มีโอกาสรู้จักกับ คอมพิวเตอร์ ให้มากขึ้นและสามารถจัดการ หรือแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ แต่ก็ต้องออกตัวไว้ก่อนเลยครับว่า งานที่ผมเกลียดมากที่สุดคือการเป็นครู รู้สึกว่าการสอนคนอื่นให้รู้เหมือนเรา ช่างเป็นงานที่ทำได้ยากยิ่งนัก ในอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่ผมชอบมากที่สุดคือ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ซึ่งนับวันก็ยิ่งรู้สึกว่า ช่างเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อนำเอาทั้งสองอย่างนี้มารวมกัน จึงออกมาเป็นเว็บเพจนี้ ซึ่งอาจจะดูสับสน วุ่นวาย ผสมผสาน ปนเป กันไปเรื่อย ๆ โดยที่ตัวผมเองก็ได้พยายามหาข้อบกพร่อง และทำการอัพเดทข้อมูลในเว็บเพจอยู่เสมอ แต่อาจจะได้ไม่ครบถ้วนนัก



เหมือนบ่น ๆ ยังไงไม่ทราบนะครับ เข้าเรื่องของเนื้อหาในหน้านี้กันดีกว่า วันนี้จะขออนุญาตแนะนำ วิธีการหรือหลักการศึกษา คอมพิวเตอร์ สำหรับมือใหม่ที่สนใจ ต้องการเรียนรู้การทำงานและการใช้งานจริง ๆ (ต้องย้ำว่าจริง ๆ ครับ) จากหน้าแรกของเว็บเพจนี้ จะเห็นว่าผมพยายามแบ่งหัวข้อออกเป็นส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่สับสน ซึ่งแต่ละหน้า อยากจะให้ได้อ่านกันทุก ๆ คน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เชื่อว่าคงจะไม่มีใครมาอ่านเว็บของผมทุกหน้า ส่วนมากก็จะอ่านแต่เฉพาะ ในหน้าที่มีเรื่องที่สนใจอยู่เท่านั้น ดังนั้น ถ้าใครที่คิดจะเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจัง ก็ขอนำมาสรุปไว้ในหน้านี้ทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบไปเลยครับ

อย่างไรจึงจะเรียกว่า ใช้คอมพิวเตอร์เป็น

คำถามแรกเลย คุณใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือยัง คงจะไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว ว่าอย่างไรเรียกว่าเป็นนะครับ ในความคิดเห็นของผม หากคุณสามารถบอกได้ทั้งหมดว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีสเปคอย่างไร ใช้ซีพียู ความเร็วเท่าไร ขนาดของแรม ชนิดของการ์ดจอและการ์ดเสียง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ ที่ใช้งานอยู่มีอะไรบ้าง และที่สำคัญมากคือ จากจุดเริ่มต้น ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณไม่มีอะไรอยู่เลย คุณสามารถที่จะลง Windows และโปรแกรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองจบครบ ตามที่ต้องการใช้งานได้ สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ตามความจำเป็น อาจจะไม่ต้องครบทุกอย่าง นั่นแหละ เรียกว่าใช้คอมพิวเตอร์เป็นในความคิดของผมครับ ลองสำรวจตัวคุณเองก่อน ว่าตอนนี้อยู่ในขั้นไหน ตรงไหนรู้แล้ว ตรงไหนยังไม่รู้ครับ

ลำดับการเริ่มต้นเรียนรู้คอมพิวเตอร์

มาดูลำดับการเริ่มต้นศึกษาหาความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก่อน ลองศึกษาทีละขั้นตอน อย่าข้ามนะครับ

1. ศึกษาการใช้งาน Windows ในเบื้องต้น โดยที่ควรจะสามารถใช้งานฟังค์ชันต่าง ๆ พื้นฐานได้พอสมควร
2. ศึกษาการใช้งาน ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีมากับเครื่อง เท่าที่คิดว่าจำเป็นและต้องการใช้งานเช่น internet, word, excel ฯลฯ
3. อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น printer, scanner, modem ที่มีต่ออยู่ ต้องรู้จักและใช้งานได้เต็มความสามารถ
4. สามารถทำการลงซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ และทำการ Uninstall ออกได้ เน้นที่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังไม่ถึงกับลง Windows ใหม่นะ
5. เริ่มต้นหัดลง Windows ด้วยตัวเอง จากการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ ลบข้อมูลออกทั้งหมดและลง Windows ได้จนครบ
6. สามารถจัดการกับ ฮาร์ดดิสก์ ได้ตามต้องการ เช่นการกำหนดขนาด การแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ ตามต้องการ
7. เริ่มต้น การรื้อ ถอด ประกอบ ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากสายไฟต่าง ๆ สายจอ สายเมาส์ ฯลฯ
8. เปิดฝาเครื่อง ลองสำรวจอุปกรณ์ภายใน และทำความรู้จักว่า ชิ้นไหนคืออะไร ใช้สำหรับทำอะไร (มองเฉย ๆ อย่าเพิ่งรื้อนะครับ)
9. ตรวจสอบสเปคเครื่องอย่างละเอียด ว่าใช้อุปกรณ์ยี่ห้ออะไร รุ่นไหน ขนาดเท่าไรบ้าง เป็นบทเรียนเริ่มต้นด้านฮาร์ดแวร์นะครับ
10. เริ่มต้นการถอดเปลี่ยน ฮาร์ดดิสก์ ก่อน ศึกษาการต่อสายไฟ และสายข้อมูลต่าง ๆ (ฮาร์ดดิสก์ จะเป็นจุดแรกที่ควรทราบไว้)
11. หลังจากรู้จักฮาร์ดดิสก์ แล้ว การศึกษาตัว ซีดีรอม ฟลอปปี้ดิสก์ ก็คงจะไม่ยากนัก
12. ถ้ามีการ์ด ต่าง ๆ ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด เช่นการ์ดจอ การ์ดเสียง โมเด็ม การทดลอง ถอด ใส่ ก็เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่ดีมาก ๆ
13. ซีพียู แรม ทดลองแงะออกมา แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ให้คุ้นเคยมือเลยครับ
14. อุปกรณ์อื่น ๆ สายไฟของระบบ สายแพร สายเสียง ฯลฯ ดูให้ครบว่ามีอะไรบ้าง
15. สังเกตุ jumper ต่าง ๆ และลองเปิดคู่มือเมนบอร์ดมาอ่านดู ว่าแต่ละตัวใช้สำหรับทำอะไรบ้าง
16. นึกภาพ ว่าถ้าจะอัพเกรดเครื่อง เปลี่ยน ซีพียูใหม่ เพิ่มแรม ฯลฯ ต้องทำอะไรบ้าง หรือถ้ามีซีพียูตัวใหม่จริง ๆ ก็ลุยกันเลยครับ
17. ทำได้แค่นี้ ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าจะให้ดี ต้องถอดทุกชิ้นส่วนออกมา แล้วประกอบใหม่ ถ้าเครื่องใช้งานได้ แปลว่าคุณสอบผ่าน
18. หากสนใจเรื่องอินเตอร์เน็ต ก็ลองเขียนเว็บไซต์เป็นของตัวเองขึ้นมาซักเว็บนึง อาจจะมีไอเดียดี ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่องได้ครับ

อ่านแล้วอย่าเพิ่งใจเสียกันนะครับ ทุก ๆ หัวข้อด้านบนนี้ ใช้เวลาศีกษาอย่างน้อยก็ ครึ่งปีขึ้นไป ดังนั้น ไม่ต้องฝันหวานกันเลย ว่าจะสามารถทำทุกอย่าง เรียนรู้ได้ภายใน 1 สัปดาห์ (แบบที่โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมใช้พูดกัน) แต่ถ้าหากคุณ สามารถทำได้ทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นความภูมิใจส่วนตัว ของคุณเองครับ ในส่วนของผม ก็คงจะทำได้แค่เพียง หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ มาแสดงเป็นตัวอย่างและแนวทางให้ทุกท่านได้ทดลองทำกัน อาจจะมีบางเรื่องที่ตรงกับความต้องการบ้างไม่มากก็น้อย

จะเริ่มต้นศึกษา ต้องลงทุนกันหน่อย

มีคำถามทำนองนี้เข้ามาค่อนข้างบ่อยว่า อยากจะเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยแนะนำสถานที่สอนหรือโรงเรียนที่ดี ๆ ให้หน่อย โดยส่วนตัวผมเองแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานนั่นแหละครับ คือครูที่ดีที่สุด เพียงแต่ว่า หากต้องการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการศึกษาหาความรู้ ก็ต้องลงทุนกันหน่อย อย่าเพิ่งนึกว่าเป็นการลงทุนอัพเกรด หรือต้องซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมนะครับ ผมหมายถึง การลงทุนโดยการลบทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณออกให้หมด และเริ่มต้นจากการ ทำการติดตั้งและลงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง ถ้าหากได้ทดลองสักครั้งหนึ่ง ครั้งต่อ ๆ ไปก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ คราวต่อไป ต้องการที่จะอัพเกรดเครื่องด้วยตัวเอง ก็ลองหาการ์ดต่าง ๆ แรม หรือซีพียู มาเปลี่ยนเอง จากนั้นความรู้และความชำนาญในด้านต่าง ๆ ก็จะตามมาเอง ไม่ยากหรอกครับ หากคิดว่ายากเกินไป ก็คงต้องหาเพื่อนที่พอเป็นมาเป็นพี่เลี้ยงในครั้งแรก ๆ ก่อนด็ดีครับ

บทสรุปส่งท้าย

การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้จากการทดลอง หากต้องการเรียนรู้ต้องทำการทดลองด้วยตัวคุณเอง เว็บไซต์นี้ จะเป็นข้อมูลในเบื้องต้น สำหรับการเรียนรู้ของทุก ๆ ท่าน โดยผมจะพยายามเพิ่มเติมเนื้อหาให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ซอฟต์แวร์ ฮาร์แวร์ เทคนิคต่าง ๆ เท่าที่ผมเองพอจะทราบอยู่บ้าง อาจจะทำได้ช้าไปสักนิดก็คงไม่ว่ากันนะครับ เพราะเว็บไซต์นี้ ผมทำเองคนเดียว โดยใช้เวลาว่างจากงานประจำมาอัพเดทข้อมูล กำลังใจของผมก็คือ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ครับ วันไหนเห็น ตัวเลขจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บเพิ่มขึ้น ก็รู้สึกว่า สิ่งที่ได้ทำลงไป มีผู้คนสนใจและตั้งใจที่จะเรียนรู้มากขึ้นครับ ส่วนแบนเนอร์ของเว็บไซต์สปอนเซอร์ ที่ติดอยู่ด้านบนของแต่ละหน้าเว็บ ก็ขอฝากไว้ให้ช่วย ๆ กันดูแลกันบ้างนะครับ คลิกบ่อย ๆ หรือทุกครั้งที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้นะครับ ขอให้มีความสุขกับการ ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ

ที่มา www.com-th.net

Page View

Profile - Tag

เช่าLED-TV (2828) เช่าทีวี (2809) เช่าTV (2769) เช่าNotebook (2661) เช่าLCD-TV (2254) เช่าโน๊ตบุ๊ค (1987) เช่าLaptop (1071) เช่าคอมพิวเตอร์ (480) เช่าComputer (449) ระบบภาพSpitter (414) เช่าProjector (407) เช่าPC all in one (404) เช่าพีซีออลอินวัน (401) เช่าtouchscreen (382) เช่าโปรเจคเตอร์ (376) เช่าจอทัชสกรีน (375) เช่าทัชสกรีน (328) ติดตั้งระบบNetwork (304) เช่าตู้Kisok Touchscreen (298) เช่าฉากรับภาพ (274) เช่าจอทัช (248) เช่าPC (220) เช่าตู้Kiosk (210) เช่าคีออส (206) เช่าPrinter (191) เช่าคีออสทัชสกรีน (184) เช่าkiosk (182) เช่าLED-Display (86) เช่าจอแอลอีดี (68) หูฟัง (59) เช่าพีซีออลอินวันทัชสกรีน (50) PC all in one touch (48) ถ่ายทอดสด (41) เช่าปริ้นเตอร์ (38) เช่าแอลอีดี (29) เช่าvideo wall (24) เช่าTVจอโค้ง (23) เช่าวีดีโอวอล (22) TV-Curve (20) จอมอนิเตอร (12) Monitor (11) เช่าPocket Wifi (5) เช่าserver (4) เช่าไอแพด (4) เช่าaircard (3) เช่าพีซีออลอินวันเช่าPC all in one (3) เช่าBarcode Scaner (2) เช่าIPad (2) เช่าstick PC (2) เช่าแอร์การ์ด (2) พี (1) ออ (1) เ เช่าทัชสกรีน (1) เช่าพ็อคเก็ตไวไฟ (1)

ผลงานของเรา Workgroup Tech